วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)


ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)

(http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3) กล่าวไว้ว่า ก่อนที่จะวางแผนทำการวิจัยเรื่องใดก็ตาม ควรจะมีการทบวนวรรณกรรม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราจะทำวิจัย อย่างละเอียด และรอบคอบ เพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริง เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ โดยในขั้นตอนแรก ต้องแน่ใจเสียก่อนว่า เรากำลังจะศึกษาเรื่องอะไร
แหล่งที่มาของวรรณกรรมเหล่านี้ อาจรวบรวมได้มาจาก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น, ตำรามาตรฐาน ในสาขาที่จะทำวิจัย, วารสารต่าง ๆ , Current Contents ซึ่งรวบรวมสารบัญของสาขาต่าง ๆ เอาไว้, Index Medicus, Science Citation Index หรือ MEDLINE ( MEDLARS on LINE) ซึ่งเป็นระบบวิเคราะห์ จัดเก็บ และเรียกใช้ ข้อมูลทางการแพทย์ โดยอาศัยคอมพิวเตอร์มาช่วย เป็นต้น
เมื่อค้นได้รายงานงานต่าง ๆ ออกมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือ ต้องแสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการใช้วิจารณญาณ ในการประเมิน บทความเหล่านั้น โดยความจะ วิเคราะห์ออกมา ใน 2 ประเด็น คือ
ก. บทความนั้นถูกต้องและเชื่อถือได้หรือไม่ ?
ข. สามารถประยุกต์ (applicable) เข้ากับเรื่องที่เราจะศึกษาหรือไม่ ?
จากผลการวิเคราะห์ ถ้าพบว่า เรื่องที่เรากำลังจะศึกษา มีผู้อื่นทำไปแล้ว ด้วยรูปแบบการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัย ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และสามารถ ตอบคำถามของการวิจัย ของเราได้ชัดเจนแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะมาทำวิจัยซ้ำ ให้เสียทั้งเวลา และงบประมาณอีก เป็นการลดความซ้ำซ้อน ไปได้ระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้ว เราอาจจะทำใหม่ได้ ถ้าผลการวิเคราะห์ พบว่ารายงานที่ทำไปแล้ว ไม่ถูกต้อง หรือไม่น่าเชื่อถือ เช่น รูปแบบการวิจัย ไม่เหมาะสม ระเบียบวิธีวิจัยไม่ถูกต้อง หรือผลนั้น ไม่สามารถประยุกต์ เข้ากับประชากรของเราได้
การสรุป การศึกษารายงานอื่น ที่เกี่ยวข้อง ควรสรุป วิเคราะห์ออกมาว่า รายงานทั้งหมด เกี่ยวกับเรื่องนั้น มีจำนวนเท่าไร ในจำนวนนั้น ที่มีน่าเชื่อถือได้กี่เรื่อง ที่ไม่น่าเชื่อถือมีปัญหาอะไรบ้าง และในจำนวนที่เชื่อถือได้นี้ มีที่เห็นด้วยกับสมมติฐานของเราเท่าไร และมีที่คัดค้านเท่าไร โดยสรุปออกมาให้ได้ว่า ในกรอบความรู้นั้น มีอะไรที่ทราบแล้ว และมีอะไรที่ยังไม่ทราบ โดยทั่วไป ควรจะวิเคราะห์ออกมา ในลักษณะที่ว่า ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่สามารถตอบปัญหา การวิจัยของเราได้ จึงจำเป็น ต้องทำวิจัยในเรื่องนี้ โดยระบุว่า เมื่อทำวิจัยเสร็จแล้ว จะนำผลการวิจัย ไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง
การเขียนโครงร่าง การวิจัยในส่วนนี้ ควรบรรยายในลักษณะ การสรุปวิเคราะห์ ดังกล่าวมาแล้ว ไม่ใช่นำรายงานเหล่านั้น มาย่อ หรือยกเอาบทคัดย่อ (abstract) ของแต่ละบทความ มาปะติดปะต่อกัน เพราะจะทำให้เหตุผลต่าง ๆ อ่อนลงไปมาก
(http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)  กล่าวว่า อาจเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
        หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ควรมีการประเมินงานเขียนเรียบเรียงนั้นอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ภาษา และความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน สำหรับการประเมินการเขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรม Polit & Hungler (1983, อ้างใน ธวัชชัย วรพงศธร, 2538 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญไว้ โดยการให้ตอบคำถามต่อไปนี้
        5.1    รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับปัญหาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งศึกษามาก่อนแล้ว
                  หรือไม่
                  5.1.1    รายงานนั้นได้เรียบเรียงจากแหล่งเอกสารทุติยภูมิมากเกินไปหรือไม่ ซึ่งตามความ
                  เป็นจริงแล้วควรใช้แหล่งเอกสารปฐมภูมิ (ต้นฉบับ) ให้มากที่สุด
                  5.1.2    รายงานได้ครอบคลุมเอกสาร ที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาครบหมดหรือไม่
                  5.1.3    รายงานได้ครอบคลุมเอกสารใหม่ๆหรือไม่
                  5.1.4    รายงานได้เน้นในเรื่องความคิดเห็น หรือการบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรม
                                มากเกินไป และมีการเน้นผลการวิจัยด้านปฏิบัติจริงๆ น้อยไปหรือไม่
                  5.1.5    รายงานได้เรียบเรียงข้อความอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์หรือไม่ หรือเป็นเพียงแต่ลอก
                                ข้อความจากเอกสารต้นฉบับมาเรียงต่อกันเท่านั้น
                  5.1.6    รายงานนั้นเป็นแต่เพียงสรุปผลการศึกษาที่ทำมาแล้วเท่านั้น หรือเป็นการเขียนใน
                                เชิงวิเคราะห์วิจารณ์ และเปรียบเทียบกับผลงานเด่นๆ ที่ศึกษามาแล้วหรือไม่
                  5.1.7    รายงานได้เรียบเรียงในลักษณะที่เชื่อมโยง และชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าในความ
                                คิดอย่างชัดเจนมากน้อยแค่ไหน
                  5.1.8    รายงานได้นำผลสรุปของงานวิจัยและข้อเสนอแนะของการนำผลการวิจัยไปใช้
                                ทั้งหมด มาเชื่อมโยงกับปัญหาที่จะศึกษามากน้อยแค่ไหน
        5.2    รายงานนั้นได้มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับกรอบทฤษฎี หรือ กรอบแนวคิดหรือไม่
                  5.2.1    รายงานได้เชื่อมโยงกรอบทฤษฎีกับปัญหาที่ศึกษาอย่างเป็นธรรมชาติหรือไม่
                  5.2.2    รายงานได้เปิดช่องโหว่ให้เห็นถึงกรอบแนวคิดอื่นที่เหมาะสมกว่าหรือไม่
                  5.2.3    รายงานได้เชื่อมโยงอนุมานจากทฤษฎี หรือกรอบแนวคิดอย่างมีเหตุมีผลหรือไม่
(https://sites.google.com/site/businessresearce/kar-wicay-thang-thurkic/kar-kheiyn-xeksar-laea-ngan-wicay-thi-keiywkhxng) กล่าวว่า การศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือการตรวจเอกสาร (Review of related literature) บางตำราเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ทราบว่าเรื่องที่จะทำวิจัยนั้นได้มีใครทำวิจัยเรื่องนี้ไว้บ้าง หากมีผู้ทำวิจัยแล้ว ควรพิจารณาเรื่องการใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้งานวิจัยของผู้วิจัยมีความน่าสนใจ และเลือกตัวแปรในการวิจัยได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ของบทนี้มีดังต่อไปนี้
1.       อธิบายความหมาย ประโยชน์ที่ได้รับจากการทบทวนวรรณกรรมได้
2.      สามารถบอกแหล่งที่ใช้ในการค้นหาวรรณกรรมได้
3.      สามารถสืบค้นวรรณกรรมได้
4.       สามารถเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยได้
การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เรียกว่าการตรวจเอกสาร(Review of Related Literature) เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ทราบเรื่องที่ตนกำลังทำวิจัยนั้น ได้มีหลักการและทฤษฎีอะไรบ้างและได้ผลเป็นอย่างไร หากมีผู้ทำวิจัยไว้แล้วจะต้องพิจารณาต่อไปว่ามีการใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และการเก็บข้อมูลอย่างไร การใช้สถิติวิเคราะห์ ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างไร ดังนั้นการศึกษาเอกสารหรือวรรณกรรมนั้นจำเป็นต้องการอ่านเก็บรวบรวมประเด็นแนวคิด ระเบียบวิธีการวิจัยจองผลงานวิจัย หรือเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ หรือประเด็นของปัญหาการวิจัย คำว่า วรรณกรรมในที่นี่หมายถึง ผลงานวิจัยและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จุดประสงค์หลักในการศึกษาผลงานวิจัย คือการศึกษาดูว่าในประเด็นที่ต้องการวิจัยนั้นมีผู้ใดได้ศึกษาหรือเขียนทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มาแล้วบ้างและได้ค้นพบอะไรหรือได้อธิบายไว้อย่างไร มีตัวแปรอะไรบ้างที่เคยผ่านการศึกษาหรือใช้อธิบายมาบ้างแล้ว ตัวแปรใดบ้างที่สำคัญหรือไม่สำคัญ สมมุติฐานและคำอธิบายต่างๆ ที่ผู้วิจัยในอดีตใช้ในการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้นจากระเบียบวิธีวิจัยและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวัดผลและคำนิยามของตัวแปรต่างๆ ที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล และผลที่ได้จากการวิเคราะห์ตลอดจนข้อสรุป การอภิปรายผล ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย และนักทฤษฎีในอดีตเกี่ยวกับประเด็นที่ทำวิจัย
ในการศึกษาผลการวิจัย ผู้ทำวิจัยควรทำการจดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมแต่ละชิ้นลงในบัตร เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง และนำมาใช้เรียบเรียงในขั้นตอนต่อไป นอกจากเนื้อหาสาระที่ต้องการบันทึกแล้ว ผู้ทำวิจัยควรบันทึกชื่อบทความ ชื่อผู้เขียน ชื่อผลงานวิจัย ชื่อตำรา ชื่อวารสารหรือสิ่งพิมพ์ ตลอดจนเลขที่ของฉบับ ครั้งที่ของการพิมพ์เดือนและปีที่บทความนั้นได้รับการตีพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การอ้างอิงและการค้นคว้าเพิ่มเติมในภายหลัง เป็นต้น

สรุป :
                การทบทวนวรรณกรรม ส่วนนี้เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้วิจัย รวมทั้งมองเห็นแนวทางในการดำเนินการศึกษาร่วมไปกับผู้วิจัยด้วย โดยจัดลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่องที่เขียนตามตัวแปรที่ศึกษา และในแต่ละหัวข้อเนื้อเรื่องก็จัดเรียงตามลำดับเวลาด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา นอกจากนี้ผู้วิจัยควรจะต้องมีการสรุปไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความสัมพันธ์ทั้งส่วนที่สอดคล้องกัน ขัดแย้งกัน และส่วนที่ยังไม่ได้ศึกษาทั้งในแง่ประเด็น เวลา สถานที่ วิธีการศึกษาฯลฯ การเขียนส่วนนี้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการตั้งสมมติฐานด้วย
        หลังจากที่ผู้วิจัยได้เขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรมแล้ว ควรมีการประเมินงานเขียนเรียบเรียงนั้นอีกครั้งหนึ่ง ว่ามีความสมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ภาษา และความต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน สำหรับการประเมินการเขียนเรียบเรียงการทบทวนวรรณกรรม Polit & Hungler (1983, อ้างใน ธวัชชัย วรพงศธร, 2538 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะที่สำคัญไว้
วัตถุประสงค์ของบทนี้มีดังต่อไปนี้
1.       อธิบายความหมาย ประโยชน์ที่ได้รับจากการทบทวนวรรณกรรมได้
2.      สามารถบอกแหล่งที่ใช้ในการค้นหาวรรณกรรมได้
3.      สามารถสืบค้นวรรณกรรมได้
4.       สามารถเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยได้
ในการศึกษาผลการวิจัย ผู้ทำวิจัยควรทำการจดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมแต่ละชิ้นลงในบัตร เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง และนำมาใช้เรียบเรียงในขั้นตอนต่อไป นอกจากเนื้อหาสาระที่ต้องการบันทึกแล้ว ผู้ทำวิจัยควรบันทึกชื่อบทความ ชื่อผู้เขียน ชื่อผลงานวิจัย ชื่อตำรา ชื่อวารสารหรือสิ่งพิมพ์ ตลอดจนเลขที่ของฉบับ ครั้งที่ของการพิมพ์เดือนและปีที่บทความนั้นได้รับการตีพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การอ้างอิงและการค้นคว้าเพิ่มเติมในภายหลัง เป็นต้น



อ้างอิง :
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-3  สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น