วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย (background and rationale)


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย (background and rationale)
(http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm) กล่าวไว้ว่า  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล ระบุได้ว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้ จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
(http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) กล่าวไว้ว่า ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง  มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
(http://tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=483:research-tips-37&catid=73:research-secrets&Itemid=89 ) กล่าวไว้ว่า กล่าวว่า หัวใจของการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา มีดังนี้
1.   ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเรื่องที่เราจะทำวิจัยมีความสำคัญจริง โดยประเมินจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งที่ทำ  จำนวนผู้คนที่จะได้รับประโยชน์จากผลการวิจัย  ผลประโยชน์จะตกไปถึงผู้ที่ด้อยกว่าทางสังคม
 2. ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าแรงจูงใจในการทำวิจัยเรื่องนี้คืออะไร โดยประเมินจากการเป็นช่องว่างทางวิชาการที่ยังไม่มีคำตอบ ยังไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้และต้องการได้คำตอบ  (เนื่องจากมีความสำคัญ ตามข้อ 1.)
                3. หากทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเราคือคนที่ใช่ สำหรับการทำวิจัยเรื่องนี้ ยิ่งจะดีมาก โดยประเมินจากความเชี่ยวชาญ  ผลงานที่ผ่านมา  ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ความได้เปรียบเรื่องข้อมูล
            อะไรที่เขียนแล้วยืดเยื้อและไม่สามารถ นำไปสู่เป้าหมายสามอย่างนี้   ไม่ควรเขียนไว้ในส่วนของที่มาและความสำคัญของปัญหา เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้ เขวทั้งในประเด็นปัญหา และความเป็นมืออาชีพของผู้วิจัย

สรุป :
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ผู้วิจัย ต้องสามารถแสดงให้เห็นว่า มีความรู้พื้นฐาน และเข้าใจ ในปัญหาที่กำลังจะศึกษา อย่างถ่องแท้ ชัดเจน ทั้งทางทฤษฏี และปฏิบัติ ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงเข้าสู่กรอบความคิด ของการวิจัยนี้ได้ สามารถระบุถึง ความสำคัญของปัญหา รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัย ในเรื่องนี้ อย่างมีเหตุมีผล ระบุได้ว่า มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้ จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
หัวใจของการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา มีดังนี้
1.   ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเรื่องที่เราจะทำวิจัยมีความสำคัญจริง โดยประเมินจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งที่ทำ  จำนวนผู้คนที่จะได้รับประโยชน์จากผลการวิจัย  ผลประโยชน์จะตกไปถึงผู้ที่ด้อยกว่าทางสังคม
 2. ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าแรงจูงใจในการทำวิจัยเรื่องนี้คืออะไร โดยประเมินจากการเป็นช่องว่างทางวิชาการที่ยังไม่มีคำตอบ ยังไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้และต้องการได้คำตอบ  (เนื่องจากมีความสำคัญ ตามข้อ 1.)
                3. หากทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเราคือคนที่ใช่ สำหรับการทำวิจัยเรื่องนี้ ยิ่งจะดีมาก โดยประเมินจากความเชี่ยวชาญ  ผลงานที่ผ่านมา  ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ความได้เปรียบเรื่องข้อมูล
            อะไรที่เขียนแล้วยืดเยื้อและไม่สามารถ นำไปสู่เป้าหมายสามอย่างนี้   ไม่ควรเขียนไว้ในส่วนของที่มาและความสำคัญของปัญหา เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้ เขวทั้งในประเด็นปัญหา และความเป็นมืออาชีพของผู้วิจัย

อ้างอิง :
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm    สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921     สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น