วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำสำคัญ (Key words)



(http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า  ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น

                        (http://www.dld.go.th/expert/knowledge/Research_Writing.htm) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า คือคำต่างๆที่ต้องการให้เครื่องมือการค้นหา(search engine)ตรวจพบในอินเทอร์เน็ต เครื่องมือจะค้นหาจากชื่อเว็บไซต์( website title) คำสำคัญ และ ส่วนต้นของเนื้อหา ตามลำดับ ดังนั้นควรเขียนคำสำคัญไว้ในทั้งสามส่วน
ความยาวของคำสำคัญเมื่อรวมกับเครื่องหมายจุลภาค(,)และช่องว่างแล้วไม่ควรมากกว่า 1,000 ตัวอักษร โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ 3 ถึง 6 คำ ตัวอย่างคำแนะนำการหาคำสำคัญในเว็บไซต์มีดังนี้
·       ให้ใช้คำที่คิดว่าผู้อ่านจะเลือกเป็นคำสำหรับค้นหา
·       ควรครอบคลุมทั้งคำที่ใช้กันทั่วไป เช่น resaerch และคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาการ เช่น inbreeding
·       ในภาษาอังกฤษควรให้อยู่ในรูปพหูพจน์(เติม s) เพราะจะครอบคลุมทั้งเมื่อผู้ค้นหาใช้คำเอกพจน์และพหูพจน์
·       ใช้เป็นกลุ่มคำ เช่น animal breeding หรือ animal nutrition มากกว่าคำเดี่ยว เช่น breeding
·       ให้คำที่มีความสำคัญมากที่สุดอยู่ข้างหน้า เพราะเครื่องมือบางชนิดจะให้ความสำคัญแก่คำที่เจอก่อน
·   ในภาษาอังกฤษ บางเครื่องมือจะจำแนกอักษรตัวเล็กใหญ่ตามที่ผู้สืบค้นระบุ ชื่อเมือง ชื่อประเทศ หรือ ชื่อบุคคล จึงควรใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่เช่น Bangkok
·       อย่าใช้คำเดิมซ้ำกันเกิน 3 ครั้งเพราะเครื่องมือจะลบเว็บไซต์ออกจากฐานข้อมูล หากจำเป็นให้คั่นด้วยคำสำคัญตัวอื่น

                (http://www.makewebeasy.com/article/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%20Keywords.html ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า การทำวิจัย Keywords ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการทำ SEO เพราะอย่างที่บอกไปแล้ว Keywords มีค่ามากในธุรกิจการค้นหา ดังนั้น Keywords ที่แต่ละคนใช้มักจะไม่บอกกัน เพราะมันคือสิ่งที่จะทำเงินให้เราได้อย่างมากมาย
             จากขั้นตอนการวิเคราะห์ Keywords ซึ่งบางคนนั้นเลือก Keywords ที่ตัวเองคิดว่าจะใช้ค้นหาใน Search Engine แล้วก็เริ่มทำ SEO ด้วยคำๆนั้น ซึ่งในความเป็นจริง บางทีคำๆนั้น อาจจะไม่มีคนค้นหาเลยก็ได้ในแต่ละเดือน บางทีอาจเป็นเพราะเราซึ่งเป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่รู้ดีอยู่แล้วว่า ของชิ้นนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร จึงใช้ทับศัพท์ลงไปในการค้นหา แต่คนอื่นๆที่มาค้นหามักจะไม่รู้ว่าของประเภทนี้เรียกว่าอะไร เช่น  ของเล่นบน IPhone ที่เรียกกันว่า Plugy เจ้าของสินค้าก็จะใช้คำค้นหาว่า Plugy ไปเลย ซึ่งถ้าไปดูสถิติใน Truehits.net เราจะพบว่า คำว่า Plugy นั้นมีคนค้นหาเพียง 211 คนเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่เรียกมันว่า จุกกันฝุ่นซึ่งมีคนค้นหามากถึง 476 คน มากกว่าคำว่า Plugy ถึงเท่าตัว!! และหากเราลองมาเปรียบเทียบคู่แข่งดูก็จะรู้ว่า คนที่ทำเว็บฯ ด้วยคำว่า จุกกันฝุ่นมีคู่แข่งเพียง 182,000 เว็บฯ เท่านั้น

สรุป :
ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
ความยาวของคำสำคัญเมื่อรวมกับเครื่องหมายจุลภาค(,)และช่องว่างแล้วไม่ควรมากกว่า 1,000 ตัวอักษร โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ 3 ถึง 6 คำ ตัวอย่างคำแนะนำการหาคำสำคัญในเว็บไซต์มีดังนี้
·       ให้ใช้คำที่คิดว่าผู้อ่านจะเลือกเป็นคำสำหรับค้นหา
·       ควรครอบคลุมทั้งคำที่ใช้กันทั่วไป เช่น resaerch และคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาการ เช่น inbreeding
·       ในภาษาอังกฤษควรให้อยู่ในรูปพหูพจน์(เติม s) เพราะจะครอบคลุมทั้งเมื่อผู้ค้นหาใช้คำเอกพจน์และพหูพจน์
·       ใช้เป็นกลุ่มคำ เช่น animal breeding หรือ animal nutrition มากกว่าคำเดี่ยว เช่น breeding
·       ให้คำที่มีความสำคัญมากที่สุดอยู่ข้างหน้า เพราะเครื่องมือบางชนิดจะให้ความสำคัญแก่คำที่เจอก่อน
·   ในภาษาอังกฤษ บางเครื่องมือจะจำแนกอักษรตัวเล็กใหญ่ตามที่ผู้สืบค้นระบุ ชื่อเมือง ชื่อประเทศ หรือ ชื่อบุคคล จึงควรใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่เช่น Bangkok
·       อย่าใช้คำเดิมซ้ำกันเกิน 3 ครั้งเพราะเครื่องมือจะลบเว็บไซต์ออกจากฐานข้อมูล หากจำเป็นให้คั่นด้วยคำสำคัญตัวอื่น

อ้างอิง :
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555
http://www.dld.go.th/expert/knowledge/Research_Writing.htm   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น