วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)



(http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6)ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า การเขียนโครงร่างการวิจัย ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระเบียบวิธีวิจัย" นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
ก. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample)
ข. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
1. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample) การเขียนในส่วนนี้ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1.1 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ประชากรและตัวอย่าง โดยมักจะกำหนด กฏเกณฑ์ในการคัดเลือก (diagnostic criteria) พร้อมทั้งมีเหตุผล ประกอบชัดเจน ในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งรวมทั้ง กฏเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria) และกฏเกณฑ์ในการ ตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) โดยกฏเกณฑ์เหล่านี้ จะมีผลต่อการขยายผล (generalize) การวิจัยไปใช้ ถ้ากฏเกณฑ์มีการจำเพาะมาก เช่น มีกฏเกณฑ์ในการตัดคนไข้ ออกจากการศึกษามากมาย การขยายผลการศึกษา ไปยังประชากรเป้าหมาย จะเป็นไปอย่างจำกัด แต่ผลการศึกษา จะมีความไว ในการตอบคำถามได้ดี
1.2 เทคนิคในการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Techniques) ให้ระบุถึง วิธีการในการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งโดยทั่วไหแล้ว ตัวอย่าง (Sample) ต้องมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับประชากรตัวอย่าง(population sampled) มากที่สุด เพื่อสามารถจะเป็นตัวแทน (representative) และทำให้สามารถนำผลการวิจัย ขยายผลไปยังประชากรเป้าหมาย (arget population) ได้ 
ก่อนดำเนินการสุ่มตัวอย่าง ควรมีการกำหนด หน่วยตัวอย่าง (sampling unit) และกรอบตัวอย่าง (sampling frame) ให้ชัดเจนก่อน
เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างแบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 วิธีคือ
ก. การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ทำให้ทราบถึง โอกาสของแต่ละหน่วยตัวอย่าง ที่จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา เช่น
(i) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
(ii) การสุ่มตัอวย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
(iii) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
(iv) การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
(v) การสุ่มตัอวย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti - stage Random Sampling)
ข. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้อาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) การเลือกตัวอย่างแบบนี้ ผู้วิจัยไม่ทราบถึง โอกาสที่หน่วยตัวอย่าง จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา และไม่ทราบว่า ตัวอย่างแต่ละหน่วน ที่ถูกเลือกเข้ามา จะมีโอกาสถูกเลือก เท่ากันหรือไม่ ทำให้ตัวอย่างที่เลือกมา ยากที่จะเป็นตัวแทนที่ดี ของประชากรตัวอย่างได้ การขยายผลสู่ประชากร จึงมักทำไม่ได้ เช่น
(i) เลือกตามความสะดวก (Convenient Sampling)
(ii) เลือกโดยความบังเอิญ (Accidental Sampling)
(iii) เลือกโดยการกำหนดจำนวนไว้ก่อน (Quota Sampling)
(iv) เลือกโดยความจงใจ (Purposive Sampling)
1.3 การคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Determination) งานวิจัย ที่ขนาดตัวอย่าง น้อยเกินไป จะไม่สามารถ ตอบคำถามอะไรได้ แต่ถ้าตัวอย่างมากเกินไป แม้ว่าจะตอบคำถามได้ แต่ก็เป็นการสิ้นเปลือง ดังนั้น การคำนวณขนาดตัวอย่าง จึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดตัวอย่าง ที่คำนวณได้ จะเป็นจำนวนตัวอย่าง ที่น้อยที่สุด ที่สามารถตอบคำถามหลัก (Primary research question) ของการวิจัยนั้น ๆ ได้
สูตรในการคำนวนขนาดตัวอย่าง จะขึ้นกับเรื่องที่จะศึกษา และรูปแบบการวิจัย ว่าเป็นการศึกษาตัวอย่าง กลุ่มเดียว สองกลุ่ม หรือมากกว่า 2 กลุ่ม
2. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement) โครงร่างการวิจัยในส่วนนี้ ควรจะกล่าวถึง
2.1 ตัวแปรในการวิจัยนี้ โดยมีการกำหนด ตัวแปรหลัก (ทั้งตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม) โดยให้คำนิยามเชิงปฏิบัติ ที่แน่นอน และชัดเจน (ดูหัวข้อที่ 7) และระบุว่า ตัวแปรอะไรบ้าง เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการ (confounding factors) ที่ผู้วิจัย จำเป็นต้องควบคุม โดยระบุถึงวิธีในการควบคุม ตัวกวนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้มีอิทธิพล ต่อตัวแปรหลักด้วย และควรระบุลงไปว่า ตัวแปรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นั้น จะวัดผลโดยใช้มาตร (scale) อะไร (ระดับแบ่งกลุ่ม, ระดับจัดอันดับ, ระดับช่วง หรือวัดค่าที่แท้จริง) รวมถึงหลักเกณฑ์ ในการเลือกตัวแปรเหล่านี้ด้วย
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร โดยระบุว่า จะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบบันทึก (record form), เครื่องมือในการชั่ง, ตวง, วัด หรือนับ เครื่องมือนั้น จะสร้างขึ้นใหม่ หรือใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว รวมทั้ง การควบคุมคุณภาพ ของเครื่องมือ ขณะนำไปใช้ด้วย
3. วิธีการ หรือ สิ่งแทรกแซง (Intervention) การวิจัยเชิงทดลอง จะมีการกำหนด สิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่าง ที่นำมาศึกษา ซึ่งควรอธิบาย ให้รายละเอียดว่า ใคร? ทำอะไร? ให้แก่ใคร? ด้วยวิธีอย่างไร? โดยต้องระบุให้ชัดเจน เกี่ยวกับตัวยา (formulation), ขนาดยา (dose), วิธีการในการให้ มีการปรับขนาดยาหรือไม่? อย่างไร? รวมถึงวิธีการ ในการศึกษาพิษ หรือผลข้างเคียงของยาด้วย นอกจากนี้ ควรบอกระยะเวลาในการให้ และหลักเกณฑ์ ในการเพิ่ม หรือลดขนาดยา หรือหยุดการให้ยานั้น
อคติ 3 ประการ ที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างการให้สิ่งแทรกแซง ได้แก่ contamination, co-intervention และ non-compliance จึงควรกล่าวถึง มาตรการในการป้องกัน รวมทั้งการวัด (monitor) อคติเหล่านั้นด้วย
                (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจำทำอย่างไร  โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
       1  วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
        2  แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
       3  ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
        4  วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
        5  วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
        6  การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้
                (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/375613)ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย (Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดได้ดังนี้
 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิตรรก
       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเหตุผล ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดทางญาณวิทยาเหตุผลนิยม (Rationalism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมีลักษณะเป็นการคิดที่ใช้เหตุผลสรุปโดยอาศัยการนิรนัย (Deductive) ความรู้ที่ได้จึงไม่ใช่ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์
       เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสำนักคิดทางญาณวิทยาประจักษนิยม (Empiricism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมุ่งค้นหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสบการณ์ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการสังเกต สัมผัสปรากฏการณ์ในธรรมชาติอย่างบ่อยครั้งแล้วอาศัยการสรุปแบบอุปนัย (Inductive) ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด


สรุป :
การเขียนโครงร่างการวิจัย ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระเบียบวิธีวิจัย" นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
ก. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample)
ข. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
1. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample) การเขียนในส่วนนี้ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1.1 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ประชากรและตัวอย่าง โดยมักจะกำหนด กฏเกณฑ์ในการคัดเลือก (diagnostic criteria) พร้อมทั้งมีเหตุผล ประกอบชัดเจน ในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งรวมทั้ง กฏเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria) และกฏเกณฑ์ในการ ตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) โดยกฏเกณฑ์เหล่านี้ จะมีผลต่อการขยายผล (generalize) การวิจัยไปใช้ ถ้ากฏเกณฑ์มีการจำเพาะมาก เช่น มีกฏเกณฑ์ในการตัดคนไข้ ออกจากการศึกษามากมาย การขยายผลการศึกษา ไปยังประชากรเป้าหมาย จะเป็นไปอย่างจำกัด แต่ผลการศึกษา จะมีความไว ในการตอบคำถามได้ดี
1.2 เทคนิคในการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Techniques) ให้ระบุถึง วิธีการในการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งโดยทั่วไหแล้ว ตัวอย่าง (Sample) ต้องมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับประชากรตัวอย่าง(population sampled) มากที่สุด เพื่อสามารถจะเป็นตัวแทน (representative) และทำให้สามารถนำผลการวิจัย ขยายผลไปยังประชากรเป้าหมาย (arget population) ได้ 
ก่อนดำเนินการสุ่มตัวอย่าง ควรมีการกำหนด หน่วยตัวอย่าง (sampling unit) และกรอบตัวอย่าง (sampling frame) ให้ชัดเจนก่อน
เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างแบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 วิธีคือ
ก. การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ทำให้ทราบถึง โอกาสของแต่ละหน่วยตัวอย่าง ที่จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา เช่น
(i) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
(ii) การสุ่มตัอวย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
(iii) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
(iv) การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
(v) การสุ่มตัอวย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti - stage Random Sampling)
ข. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้อาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) การเลือกตัวอย่างแบบนี้ ผู้วิจัยไม่ทราบถึง โอกาสที่หน่วยตัวอย่าง จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา และไม่ทราบว่า ตัวอย่างแต่ละหน่วน ที่ถูกเลือกเข้ามา จะมีโอกาสถูกเลือก เท่ากันหรือไม่ ทำให้ตัวอย่างที่เลือกมา ยากที่จะเป็นตัวแทนที่ดี ของประชากรตัวอย่างได้ การขยายผลสู่ประชากร จึงมักทำไม่ได้ เช่น
(i) เลือกตามความสะดวก (Convenient Sampling)
(ii) เลือกโดยความบังเอิญ (Accidental Sampling)
(iii) เลือกโดยการกำหนดจำนวนไว้ก่อน (Quota Sampling)
(iv) เลือกโดยความจงใจ (Purposive Sampling)
1.3 การคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Determination) งานวิจัย ที่ขนาดตัวอย่าง น้อยเกินไป จะไม่สามารถ ตอบคำถามอะไรได้ แต่ถ้าตัวอย่างมากเกินไป แม้ว่าจะตอบคำถามได้ แต่ก็เป็นการสิ้นเปลือง ดังนั้น การคำนวณขนาดตัวอย่าง จึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดตัวอย่าง ที่คำนวณได้ จะเป็นจำนวนตัวอย่าง ที่น้อยที่สุด ที่สามารถตอบคำถามหลัก (Primary research question) ของการวิจัยนั้น ๆ ได้
สูตรในการคำนวนขนาดตัวอย่าง จะขึ้นกับเรื่องที่จะศึกษา และรูปแบบการวิจัย ว่าเป็นการศึกษาตัวอย่าง กลุ่มเดียว สองกลุ่ม หรือมากกว่า 2 กลุ่ม
2. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement) โครงร่างการวิจัยในส่วนนี้ ควรจะกล่าวถึง
2.1 ตัวแปรในการวิจัยนี้ โดยมีการกำหนด ตัวแปรหลัก (ทั้งตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม) โดยให้คำนิยามเชิงปฏิบัติ ที่แน่นอน และชัดเจน (ดูหัวข้อที่ 7) และระบุว่า ตัวแปรอะไรบ้าง เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการ (confounding factors) ที่ผู้วิจัย จำเป็นต้องควบคุม โดยระบุถึงวิธีในการควบคุม ตัวกวนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้มีอิทธิพล ต่อตัวแปรหลักด้วย และควรระบุลงไปว่า ตัวแปรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นั้น จะวัดผลโดยใช้มาตร (scale) อะไร (ระดับแบ่งกลุ่ม, ระดับจัดอันดับ, ระดับช่วง หรือวัดค่าที่แท้จริง) รวมถึงหลักเกณฑ์ ในการเลือกตัวแปรเหล่านี้ด้วย
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร โดยระบุว่า จะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบบันทึก (record form), เครื่องมือในการชั่ง, ตวง, วัด หรือนับ เครื่องมือนั้น จะสร้างขึ้นใหม่ หรือใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว รวมทั้ง การควบคุมคุณภาพ ของเครื่องมือ ขณะนำไปใช้ด้วย
3. วิธีการ หรือ สิ่งแทรกแซง (Intervention) การวิจัยเชิงทดลอง จะมีการกำหนด สิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่าง ที่นำมาศึกษา ซึ่งควรอธิบาย ให้รายละเอียดว่า ใคร? ทำอะไร? ให้แก่ใคร? ด้วยวิธีอย่างไร? โดยต้องระบุให้ชัดเจน เกี่ยวกับตัวยา (formulation), ขนาดยา (dose), วิธีการในการให้ มีการปรับขนาดยาหรือไม่? อย่างไร? รวมถึงวิธีการ ในการศึกษาพิษ หรือผลข้างเคียงของยาด้วย นอกจากนี้ ควรบอกระยะเวลาในการให้ และหลักเกณฑ์ ในการเพิ่ม หรือลดขนาดยา หรือหยุดการให้ยานั้น อคติ 3 ประการ ที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างการให้สิ่งแทรกแซง ได้แก่ contamination, co-intervention และ non-compliance จึงควรกล่าวถึง มาตรการในการป้องกัน รวมทั้งการวัด (monitor) อคติเหล่านั้นด้วย


อ้างอิง :
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/375613   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555

รูปแบบการวิจัย (Research Design)

(http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่ารูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม จะช่วยป้องกัน หรือลดอคติ หรือความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ (systematic error) อันอาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยได้ รูปแบบการวิจัย เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design) ดังนั้น ในการเขียนโครงร่างการวิจัย จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม
การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยโดยการสังเกต (observational research) และการวิจัยเชิงทดลอง(experimental research) ขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง (risk factor หรือ exposure) หรือสิ่งที่เราต้องการประเมิน หรือทดสอบ (เช่น ยา วิธีการรักษา โครงการต่าง ๆ) ซึ่งเรียกว่า "สิ่งแทรกแซง" (intervention) นั้น ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด (assign) ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้น ได้รับปัจจัยเสี่ยงนั้นอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน หรือได้รับอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ (ที่เรียกว่า natural exposure) โดยที่ผู้วิจัย ไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงแต่อย่างใด
การวิจัยใดก็ตาม ที่ผู้วิจัยไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือสิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แต่ตัวอย่างเหล่านั้น ได้รับ หรือสัมผัส กับปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ อยู่แล้ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเขา โดยผู้วิจัย เป็นแต่เพียงเฝ้าติดตาม สังเกตดูผลที่จะเกิดขึ้น การวิจัยที่เป็นแต่เพียง การเฝ้าสังเกตนี้ จึงได้ชื่อว่า การวิจัยโดยการสังเกต(observational research)
การวิจัยโดยการสังเกต สามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ขึ้นอยู่กับว่า การวิจัยนั้น มีกลุ่มควบคุม (Control group) หรือ กลุ่มเปรียบเทียบ (comparison group) หรือไม่ดังนี้p>
ก. การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) เป็นการวิจัยโดยการสังเกต ที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ตามเกณฑ์ลำดับเวลาที่ศึกษา คือ
(1) การวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (แบบตัดขวาง) (Cross-sectional Descriptive Studies)
(2) การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว (Longitudinal Descriptive Studies)
ข. การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) เป็นการวิจัยโดยการสังเกต ที่มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ อาจจำแนกได้เป็น 3 แบบ ตามเกณฑ์ของเวลาที่ีศึกษา (ดูภาพที่ 7)
(1) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดไปข้างหน้า (Prospective Analytic Studies หรือ Cohort Studies) เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ที่เริ่มศึกษาจากเหตุ ไปหาผล
(2) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิด
(3) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Analytic Studies) เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ที่ผลและเหตุเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ในจุดที่ทำการศึกษา ไม่ทราบว่าใครเกิดก่อน เกิดหลัง
รูปแบบการวิจัย (Research Design) มี 2 แบบ คือ
1.  การวิจัยโดยการทดลอง (Experimental Research) มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง (Exposure) หรือสิ่งแทรกแซง (Intervention)
2. การวิจัยโดยการสังเกต (Observational Research) ใช้การเฝ้าสังเกต ไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือสิ่งแทรกแซง
การวิจัยโดยการสังเกต (Observational Research) มี 2 แบบ คือ
1.  การวิจัยเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) ไม่มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ
2.  การวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ
การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) มี 2 แบบ คือ
1. การวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง แบบตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Studies)
2.  การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว (Longitudinal Descriptive Studies)
การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) มี 3 แบบ คือ
O  การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-Sectional Analytic Studies)
O  การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า จากเหตุไปหาผล (Prospective Analytic Studies / Cohort Studies)
O  การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง จากผลไปหาเหตุ (Retrospective Analytic Studies / Case-control)
                ฝ่ายงบประมาณ โรงเรียนวัฒนีย์วิทยา 5 (http://5kanlayaporn20.multiply.com/journal
/item/91?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem
) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย   การวิจัยทางการศึกษานั้นสามารถจัดได้หลายแบบแล้วแต่ว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่งพอสรุป ได้ดังนี้
     1. ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
          - เชิงประวัติศาสตร์
          - เชิงบรรยาย
          - เชิงทดลอง
     2. ใช้จุดมุ่งหมายของงานวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
         - บริสุทธิ์
         - ประยุกต์
         - เชิงปฏิบัติการ
     3. ใช้ลักษณะและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
        - เชิงปริมาณ
        - เชิงคุณภาพ
     4. ใช้ลักษณะศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
         - วิทยาศาสตร์
         - สังคมศาสตร์
         - มนุษยศาสตร์
     5. ใช้วิธีการควบคุมตัวแปรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
        - เชิงทดลอง
        - เชิงกึ่งทดลอง
        - เชิงธรรมชาติ

สรุป :
รูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม จะช่วยป้องกัน หรือลดอคติ หรือความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ (systematic error) อันอาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยได้ รูปแบบการวิจัย เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design) ดังนั้น ในการเขียนโครงร่างการวิจัย จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม
การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยโดยการสังเกต (observational research) และการวิจัยเชิงทดลอง(experimental research) ขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง (risk factor หรือ exposure) หรือสิ่งที่เราต้องการประเมิน หรือทดสอบ (เช่น ยา วิธีการรักษา โครงการต่าง ๆ) ซึ่งเรียกว่า "สิ่งแทรกแซง" (intervention) นั้น ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด (assign) ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้น ได้รับปัจจัยเสี่ยงนั้นอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน หรือได้รับอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ (ที่เรียกว่า natural exposure) โดยที่ผู้วิจัย ไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงแต่อย่างใด
การวิจัยใดก็ตาม ที่ผู้วิจัยไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือสิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แต่ตัวอย่างเหล่านั้น ได้รับ หรือสัมผัส กับปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ อยู่แล้ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเขา โดยผู้วิจัย เป็นแต่เพียงเฝ้าติดตาม สังเกตดูผลที่จะเกิดขึ้น การวิจัยที่เป็นแต่เพียง การเฝ้าสังเกตนี้ จึงได้ชื่อว่า การวิจัยโดยการสังเกต(observational research)
การวิจัยทางการศึกษานั้นสามารถจัดได้หลายแบบแล้วแต่ว่าจะใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ซึ่งพอสรุป ได้ดังนี้
     1. ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
          - เชิงประวัติศาสตร์
          - เชิงบรรยาย
          - เชิงทดลอง
     2. ใช้จุดมุ่งหมายของงานวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
         - บริสุทธิ์
         - ประยุกต์
         - เชิงปฏิบัติการ
     3. ใช้ลักษณะและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
        - เชิงปริมาณ
        - เชิงคุณภาพ
     4. ใช้ลักษณะศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
         - วิทยาศาสตร์
         - สังคมศาสตร์
         - มนุษยศาสตร์
     5. ใช้วิธีการควบคุมตัวแปรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
        - เชิงทดลอง
        - เชิงกึ่งทดลอง
        - เชิงธรรมชาติ


อ้างอิง :
                  http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555   
                  ฝ่ายงบประมาณ โรงเรียนวัฒนีย์วิทยา 5 (http://5kanlayaporn20.multiply.com/journal
/item/91?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem
)    สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555

การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (operational definition)




              (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ , ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น
                (http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (trms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรทีเกี่ยวกับความรู้ (ความรู้สูง, ปานกลาง, ต่ำ) ทัศนคติ (ดี-ไม่ดี), ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น
                (http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=167.0) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า  เป็นการให้ความหมายของคำที่เป็นแนวคิด ออกมาในลักษณะที่วัดได้ สังเกตได้ เพื่อให้มีความหมายที่แน่นอนมีขอบเขตเป็นอย่างเดียวกัน จะได้ไม่เกิดความคลาดเคลื่อนในงานวิจัย ทำให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายตรงกัน การให้ความหมายของคำในเชิงปฏิบัติการจะต่างไปจากความหมายเชิงทฤษฎี คือ จะเน้นที่การวัด การสังเกตที่ปฏิบัติได้แต่คำนิยามที่ให้ต้องไม่ขัดกับความหมายเชิงทฤษฎี 

สรุป :
   การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (operational definition) ในการวิจัย อาจมี ตัวแปร (variables) หรือคำ (terms) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต (observation) หรือวัด (measurement) ได้ ไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีการแปลความหมายไปได้หลายทาง ตัวอย่างเช่น คำว่า คุณภาพชีวิต, ตัวแปรที่เกี่ยวกับความรู้ ทัศนคติ , ความพึงพอใจ, ความปวด เป็นต้น

อ้างอิง :
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=167.0
     สืบค้นเมื่อ
14 พฤศจิกายน 2555

คำสำคัญ (Key words)



(http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า  ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น

                        (http://www.dld.go.th/expert/knowledge/Research_Writing.htm) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า คือคำต่างๆที่ต้องการให้เครื่องมือการค้นหา(search engine)ตรวจพบในอินเทอร์เน็ต เครื่องมือจะค้นหาจากชื่อเว็บไซต์( website title) คำสำคัญ และ ส่วนต้นของเนื้อหา ตามลำดับ ดังนั้นควรเขียนคำสำคัญไว้ในทั้งสามส่วน
ความยาวของคำสำคัญเมื่อรวมกับเครื่องหมายจุลภาค(,)และช่องว่างแล้วไม่ควรมากกว่า 1,000 ตัวอักษร โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ 3 ถึง 6 คำ ตัวอย่างคำแนะนำการหาคำสำคัญในเว็บไซต์มีดังนี้
·       ให้ใช้คำที่คิดว่าผู้อ่านจะเลือกเป็นคำสำหรับค้นหา
·       ควรครอบคลุมทั้งคำที่ใช้กันทั่วไป เช่น resaerch และคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาการ เช่น inbreeding
·       ในภาษาอังกฤษควรให้อยู่ในรูปพหูพจน์(เติม s) เพราะจะครอบคลุมทั้งเมื่อผู้ค้นหาใช้คำเอกพจน์และพหูพจน์
·       ใช้เป็นกลุ่มคำ เช่น animal breeding หรือ animal nutrition มากกว่าคำเดี่ยว เช่น breeding
·       ให้คำที่มีความสำคัญมากที่สุดอยู่ข้างหน้า เพราะเครื่องมือบางชนิดจะให้ความสำคัญแก่คำที่เจอก่อน
·   ในภาษาอังกฤษ บางเครื่องมือจะจำแนกอักษรตัวเล็กใหญ่ตามที่ผู้สืบค้นระบุ ชื่อเมือง ชื่อประเทศ หรือ ชื่อบุคคล จึงควรใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่เช่น Bangkok
·       อย่าใช้คำเดิมซ้ำกันเกิน 3 ครั้งเพราะเครื่องมือจะลบเว็บไซต์ออกจากฐานข้อมูล หากจำเป็นให้คั่นด้วยคำสำคัญตัวอื่น

                (http://www.makewebeasy.com/article/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%20Keywords.html ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า การทำวิจัย Keywords ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากๆ ในการทำ SEO เพราะอย่างที่บอกไปแล้ว Keywords มีค่ามากในธุรกิจการค้นหา ดังนั้น Keywords ที่แต่ละคนใช้มักจะไม่บอกกัน เพราะมันคือสิ่งที่จะทำเงินให้เราได้อย่างมากมาย
             จากขั้นตอนการวิเคราะห์ Keywords ซึ่งบางคนนั้นเลือก Keywords ที่ตัวเองคิดว่าจะใช้ค้นหาใน Search Engine แล้วก็เริ่มทำ SEO ด้วยคำๆนั้น ซึ่งในความเป็นจริง บางทีคำๆนั้น อาจจะไม่มีคนค้นหาเลยก็ได้ในแต่ละเดือน บางทีอาจเป็นเพราะเราซึ่งเป็นเจ้าของเว็บไซต์ที่รู้ดีอยู่แล้วว่า ของชิ้นนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร จึงใช้ทับศัพท์ลงไปในการค้นหา แต่คนอื่นๆที่มาค้นหามักจะไม่รู้ว่าของประเภทนี้เรียกว่าอะไร เช่น  ของเล่นบน IPhone ที่เรียกกันว่า Plugy เจ้าของสินค้าก็จะใช้คำค้นหาว่า Plugy ไปเลย ซึ่งถ้าไปดูสถิติใน Truehits.net เราจะพบว่า คำว่า Plugy นั้นมีคนค้นหาเพียง 211 คนเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่เรียกมันว่า จุกกันฝุ่นซึ่งมีคนค้นหามากถึง 476 คน มากกว่าคำว่า Plugy ถึงเท่าตัว!! และหากเราลองมาเปรียบเทียบคู่แข่งดูก็จะรู้ว่า คนที่ทำเว็บฯ ด้วยคำว่า จุกกันฝุ่นมีคู่แข่งเพียง 182,000 เว็บฯ เท่านั้น

สรุป :
ศัพท์ดรรชนี หรือคำสำคัญ คือ คำที่แสดงเนื้อหาของวิทยานิพนธ์ ถือได้ว่าเป็นคำหลัก ที่จะช่วยในการ สืบค้นเข้าถึงวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ในการเขียน โครงร่างวิทยานิพนธ์ นิสิตจะต้องคิดคำสำคัญประมาณ 2-3 คำ แต่ละคำ มีกี่ตัวอักษรก็ได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 75 ตัวอักษร
เทคนิคการสร้างคำสำคัญที่ง่ายที่สุด คือ ให้ดึงคำ หรือแนวคิด ที่ปรากฏในชื่อวิทยานิพนธ์ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อนิสิตกำหนดชื่อวิทยานิพนธ์ ชื่อควรประกอบด้วย คำสำคัญ ครอบคลุม สะท้อนเนื้อหาของวิทยานิพนธ์
คำนาม คำคุณศัพท์ หมายเลขเครื่องมือ ชื่อเฉพาะ สามารถนำมาเป็นคำสำคัญได้ ในขณะที่ควรหลีกเลี่ยง คำศัพท์สามัญ ที่คุณค่าในการสืบค้นน้อย เช่นคำว่า วิธีการ ปัญหา ลักษณะ สภาพ ความแตกต่าง ระบบ เป็นต้น
ความยาวของคำสำคัญเมื่อรวมกับเครื่องหมายจุลภาค(,)และช่องว่างแล้วไม่ควรมากกว่า 1,000 ตัวอักษร โดยทั่วไปจะใช้ประมาณ 3 ถึง 6 คำ ตัวอย่างคำแนะนำการหาคำสำคัญในเว็บไซต์มีดังนี้
·       ให้ใช้คำที่คิดว่าผู้อ่านจะเลือกเป็นคำสำหรับค้นหา
·       ควรครอบคลุมทั้งคำที่ใช้กันทั่วไป เช่น resaerch และคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชาการ เช่น inbreeding
·       ในภาษาอังกฤษควรให้อยู่ในรูปพหูพจน์(เติม s) เพราะจะครอบคลุมทั้งเมื่อผู้ค้นหาใช้คำเอกพจน์และพหูพจน์
·       ใช้เป็นกลุ่มคำ เช่น animal breeding หรือ animal nutrition มากกว่าคำเดี่ยว เช่น breeding
·       ให้คำที่มีความสำคัญมากที่สุดอยู่ข้างหน้า เพราะเครื่องมือบางชนิดจะให้ความสำคัญแก่คำที่เจอก่อน
·   ในภาษาอังกฤษ บางเครื่องมือจะจำแนกอักษรตัวเล็กใหญ่ตามที่ผู้สืบค้นระบุ ชื่อเมือง ชื่อประเทศ หรือ ชื่อบุคคล จึงควรใช้อักษรตัวแรกเป็นตัวใหญ่เช่น Bangkok
·       อย่าใช้คำเดิมซ้ำกันเกิน 3 ครั้งเพราะเครื่องมือจะลบเว็บไซต์ออกจากฐานข้อมูล หากจำเป็นให้คั่นด้วยคำสำคัญตัวอื่น

อ้างอิง :
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555
http://www.dld.go.th/expert/knowledge/Research_Writing.htm   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555

ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption)



(http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า  ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไร เช่น ผู้วิจัยเลือกใช้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพราะผู้วิจัยมีฐานคิดว่า “reality” อยู่ที่ความเชื่อ ความคิด ของผู้ให้ข้อมูล ดังนั้นการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล

                (http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า  การวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย

                (http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นข้อความที่แสดงถึงสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วโดยไม่ต้องนำมาพิสูจน์อีก และการเขียนข้อตกลงเบื้องต้นมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้อ่านและผู้วิจัยมีความเข้าใจตรงกันในประเด็นที่อาจเป็นปัญหาในการดำเนินการวิจัย และข้องใจในผลการวิจัย ข้อตกลงเบื้องต้นอาจมาจากหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยอื่นๆ เช่น การกำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า คำตอบของกลุ่มตัวอย่างนั้น ถือว่าเป็นคำตอบที่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริงเป็นต้น เพราะถ้าไม่เชื่อว่ากลุ่มตัวอย่างจะตอบตรงความคิดหรือความรู้สึกที่เป็นจริงแล้ว ข้อมูลที่ได้จะขาดความตรง ผลการวิจัยก็จะไม่เกิดประโยชน์

สรุป :
                การวิจัยบางเรื่อง อาจมีข้อจำกัดหลายอย่างในทางปฏิบัติ ซึ่งจำเป็นต้องตั้งข้อสมมติบางอย่าง เป็นข้อตกลงเบื้องต้นขึ้น เช่น ผู้วิจัยจะเข้าไปสัมภาษณ์ คนงานในโรงงานแห่งหนึ่ง อาจจำเป็นต้อง กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นว่า "คนงานที่มาทำงาน ในวันที่ผู้วิจัยเข้าไปสำรวจ ไม่ต่างไปจาก คนงานที่มาทำงาน ในวันปกติอื่น ๆ" อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยต้องระวัง อย่าให้ข้อตกลงเบื้องต้น เป็นตัวทำลายความถูกต้องของงานวิจัย
                ข้อตกลงเบื้องต้น (assumption) เป็นการเขียนในขั้นการวางแผนการวิจัยเช่นกัน เพื่อให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของนักวิจัยในการใช้เครื่องมือต่างๆ สำหรับการวิจัยเช่น การใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล การใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ว่านักวิจัยมีความเชื่อในสิ่งที่เป็นฐานคิดว่าอย่างไร เช่น ผู้วิจัยเลือกใช้การเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพราะผู้วิจัยมีฐานคิดว่า “reality” อยู่ที่ความเชื่อ ความคิด ของผู้ให้ข้อมูล ดังนั้นการได้ข้อมูลต้องเข้าไปสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับผู้ให้ข้อมูล ต้องไปเข้าใจวิธีคิดของผู้ให้ข้อมูล

อ้างอิง :
http://ajdusadee-dusadee.blogspot.com/2011/01/blog-post.html  สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555
http://www.unc.ac.th/elearning/elearning1/Duddeornweb/assumpt1.htm   สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2555