วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)


                นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น(http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_
intelligences
)ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่าการจะบอกว่าเด็กคนหนึ่งฉลาด หรือมีความสามารถมากน้อยเพียงใด ถ้าเรานำระดับสติปัญญาหรือไอคิว ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมาเป็นมาตรวัด ก็อาจได้ผลเพียงเสี้ยวเดียว เพราะว่าวัดได้เพียงเรื่องของภาษา ตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์ และมิติสัมพันธ์เพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีความสามารถอีกหลายด้านที่แบบทดสอบในปัจจุบันไม่สามารถวัดได้ครอบคลุมถึง เช่น เรื่องของความสามารถทางดนตรี ความสามารถทางกีฬา และความสามารถทางศิลปะ เป็นต้น  ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                - ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence)
                - ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
                - ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                - ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                - ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                - ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                - ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence
)

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่าทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
     -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
     -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
     -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
     -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน 
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

                (http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/theory-of-multiple-intelligences.html)  ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Gardner (1993) พบว่า ความสามารถของแต่ละบุคคลมีอย่างน้อย 8 ด้าน บุคคลทุกคนมีความสามารถทุกด้าน แต่ไม่เท่ากัน และมักจะมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่เด่นกว่าด้านอื่น นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลต้องใช้ความสามารถทุกด้านในการดำรงชีวิตด้วย และความสามารถนั้นไม่ได้แยกจากกัน มีความเกี่ยวพันกัน ซึ่งสมองส่วนต่างๆ เป็นตัวควบคุม เมื่อสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทาลาย ความสามารถทางด้านนั้นจะบกพร่องไป และเมื่อความสามารถด้านพัฒนาสูงสุดจะทาให้เกิดความภาคภูมิใจ มีผลทาให้อยากจะพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆ ที่ยังบกพร่องให้พัฒนาเพิ่มขึ้นมาอีก

                        สรุป :  ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2
 ประการ คือ
                1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic intelligence)เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical mathematical intelligence)   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)  เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist intelligence) ซึ่งเชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน 
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

         อ้างอิง :
                      นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
                      http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory  เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 08/07/55 
                 ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ 
                      http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486              เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 08/07/55
                      http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09                       เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 08/07/55

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น