นายสันติ ทันชม (http://dit.dru.ac.th/home/023/human/06.htm) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ว่านักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นศึกษาเฉพาะ "พฤติกรรมทีสังเกตได้" ซึ่งได้แก่ พฤติกรรมภายนอก โดยเชื่อว่าเรา จะ ทราบถึงเรื่องราวของจิตก็โดยศึกษาจากพฤติกรรมที่แสดงออก จัดเป็นกลุ่มพลังที่ 2 (the second force) ในการอธิบายพฤติ กรรมในแนวใหม่ที่มุ่งทำความเข้าใจบุคคลจากสิ่งที่เป็นรูปธรรม
ผู้นำของนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม เช่น วัตสัน (John B. Watson, 1878-1858) พฟลอฟ (Ivan P. Pavlo, 1846-1926) และสกินเนอร์ (B.F. Skinner, 1904-1990) ผลงานของนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่ง นำไปใช้มากในการปรับพฤติกรรม
ความเชื่อของกลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุพฤติกรรมเป็นการตอบสนองบุคคลต่อสิ่งเร้า มุ่งศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งแยกย่อยไปได้เป็น 2 แนวคิด คือ แนวคิดของทฤษฎีที่ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนไข (The Conditioning theory) ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (The Connectioning theory) ทฤษฎีที่ว่าด้วยการกำหนด เงือนไข เชื่อว่าสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง เมื่อไม่สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ต้องหาสิ่งเร้าอื่นที่เหมาะสมเข้าคู่ เพื่อทำให้เกิด พฤติกรรมนั้น ส่วนทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เชื่อว่าการตอบสนองหรือการกระทำใดก็ตามเมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และ แก้ปัญหาได้ บุคคลจะจำการตอบสนองหรือการกระทำนั้นๆ ไปใช้ในสถานการณ์อื่นที่คล้ายสถานการณ์เดิมอีก
แนวคิดและทฤษฎีจากนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในแง่มุมต่างๆ โดยใช้สิ่งเร้าที่เลือกสรรแล้วมาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ซึ่งกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ บุคคลได้โดยใช้สิ่งเร้าที่บุคคลต้องการมากำหนดการกระทำ และการใช้แรงเสริมหรือรางวัลมาทำให้พฤติกรรมที่ต้องการเกิดซ้ำขึ้น อีกจนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรและทำดีโดยสม่ำเสมอ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มนี้ก็เน้นการลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดีด้วย โดยเชื่อ ว่าการลงโทษจะทำให้บุคคลลดการทำไม่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดีด้วย โดยเชือว่าการลงโทษจะทำให้ บุคคลลดการทำไม่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ ซึ่งการให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดีและลงโทษพฤติกรรมที่ไม่ดีนี้ บุคคลอาจใช้ เพื่อพัฒนาตนเองที่นอกเหนือจากการพัฒนาคนอื่นได้ด้วย โดยให้รางวัลแก่ตนเองเมื่อสามารถควบคุมตนให้ทำดีได้ และอาจเพิ่ม งานให้ตนเองในบางครั้งเมื่อพบว่าได้ละเลยงานในความรับผิดชอบไปบ้าง เป็นต้น
ผู้นำของนักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยม เช่น วัตสัน (John B. Watson, 1878-1858) พฟลอฟ (Ivan P. Pavlo, 1846-1926) และสกินเนอร์ (B.F. Skinner, 1904-1990) ผลงานของนักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของทฤษฎีการเรียนรู้ ซึ่ง นำไปใช้มากในการปรับพฤติกรรม
ความเชื่อของกลุ่มพฤติกรรมนิยม คือ พฤติกรรมทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุพฤติกรรมเป็นการตอบสนองบุคคลต่อสิ่งเร้า มุ่งศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งแยกย่อยไปได้เป็น 2 แนวคิด คือ แนวคิดของทฤษฎีที่ว่าด้วยการกำหนดเงื่อนไข (The Conditioning theory) ทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (The Connectioning theory) ทฤษฎีที่ว่าด้วยการกำหนด เงือนไข เชื่อว่าสิ่งเร้าสิ่งหนึ่ง เมื่อไม่สามารถทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ต้องหาสิ่งเร้าอื่นที่เหมาะสมเข้าคู่ เพื่อทำให้เกิด พฤติกรรมนั้น ส่วนทฤษฎีที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ต่อเนื่อง เชื่อว่าการตอบสนองหรือการกระทำใดก็ตามเมื่อได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และ แก้ปัญหาได้ บุคคลจะจำการตอบสนองหรือการกระทำนั้นๆ ไปใช้ในสถานการณ์อื่นที่คล้ายสถานการณ์เดิมอีก
แนวคิดและทฤษฎีจากนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในแง่มุมต่างๆ โดยใช้สิ่งเร้าที่เลือกสรรแล้วมาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรม ซึ่งกลุ่มพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของ บุคคลได้โดยใช้สิ่งเร้าที่บุคคลต้องการมากำหนดการกระทำ และการใช้แรงเสริมหรือรางวัลมาทำให้พฤติกรรมที่ต้องการเกิดซ้ำขึ้น อีกจนกลายเป็นพฤติกรรมที่ถาวรและทำดีโดยสม่ำเสมอ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มนี้ก็เน้นการลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดีด้วย โดยเชื่อ ว่าการลงโทษจะทำให้บุคคลลดการทำไม่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษกับพฤติกรรมที่ไม่ดีด้วย โดยเชือว่าการลงโทษจะทำให้ บุคคลลดการทำไม่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ ซึ่งการให้รางวัลกับพฤติกรรมที่ดีและลงโทษพฤติกรรมที่ไม่ดีนี้ บุคคลอาจใช้ เพื่อพัฒนาตนเองที่นอกเหนือจากการพัฒนาคนอื่นได้ด้วย โดยให้รางวัลแก่ตนเองเมื่อสามารถควบคุมตนให้ทำดีได้ และอาจเพิ่ม งานให้ตนเองในบางครั้งเมื่อพบว่าได้ละเลยงานในความรับผิดชอบไปบ้าง เป็นต้น
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่านักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่นี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เฉิดโฉม (http://www.novabizz.com/) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฏีนี้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)เช่น
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning)และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning)
สรุป : ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ
ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง
ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง
อ้างอิง :
นายสันติ ทันชม http://dit.dru.ac.th/home/023/human/06.htm เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 06/07/55
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 06/07/55
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญา เฉิดโฉม http://www.novabizz.com/ เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 07/07/55
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น