วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน



กิดานันท์ มลิทอง  (2540)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

ดุสิต ขาวเหลือง. http://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%   กล่าวไว้ว่า สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
     1.รูปแบบหลัก
     2. รูปแบบผู้เรียน
     3. รูปแบบการปรับตัว

                อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.2545   ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนรู้ที่คุณครูออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา หรือสื่อการเรียนรู้ทั่วๆ ไป เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน สามารถจำแนกได้ ดังนี้
   1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   
   3.สื่ออื่นๆ เช่น
     -บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
     -กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     -แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
     -วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
   4.สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย คือ
      4.1 เป็นสื่อประสมที่นำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาใช้ประกอบการบรรยายและมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือ การใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน มีลักษณะเป็น "สื่อหลายแบบ" ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน การใช้สื่อประสมลักษณะนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
      4.2 เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ หรือ การผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษร และเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการตอบโต้กับสื่อโดยตรง เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในสื่อประสมนี้ได้ 2 ลักษณะ คือ
     -ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ โดยการควบคุมอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ในการทำงาน ได้แก่ การเสนอในรูปแบบของแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้ลักษณะนี้คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดิทัศน์  และเครื่องเล่นซีดี-รอมให้เสนอภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวตามเนื้อหาบทเรียน
     -ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อประสม โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ต่างๆ เช่น Toolbook Authorwareซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปจะช่วยในการผลิตแฟ้ม บทเรียน หรือการเสนองานในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยแต่ละแฟ้มจะมีเนื้อหาในลักษณะตัวอักษรภาพกราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว เสียง รวมอยู่ในแฟ้มเดียวกัน ผู้ใช้เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียนหรือเสนองานตามโปรแกรมที่ได้จัดทำไว้ก็จะได้เรียนรู้เนื้อหาอย่างครบถ้วน
   
สรุป
    รูปแบบของสื่อหลายมิติมีดังนี้
   1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   
   3.สื่ออื่นๆ เช่น
     -บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
     -กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     -แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
     -วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
   4.สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย


เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ดุสิต ขาวเหลือง. การบูรณาการใช้สื่อประสมและสื่อหลายมิติเพื่อการสอนและการเรียนรู้. จากhttp://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/Link_Jounal%20edu_18_1_3.pdf
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.2545.สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน.เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์.กรุงเทพฯจากhttp://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น