วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

นวัตกรรม



บุญเกื้อ ควรนาเวช (2542).     กล่าวไว้ว่า คำว่า " นวัตกรรม " หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า " Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว + อตต + กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ ส่วนคำว่า " นวกรรม " ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำๆ เดียวกันนั่นเอง

กิดานันท์ มลิทอง (2540:245) กล่าวคือ นวัตกรรมไว้ว่า เป็นแนวคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีการใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงาน

 (http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138) กล่าวว่า “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

 สรุป
นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน หรือเป็นสิ่งที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ หรือเป็นการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่แล้วก็จะทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมา จึงกล่าวได้ว่านวัตกรรมเป็นสิ่งใหม่หรือเป็นการดัดแปลงสิ่งที่มีอยู่แล้วให้ดีหรือใช้ได้ผลดีกว่าเดิม เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด

เอกสารอ้างอิง
บุญเกื้อ ควรนาเวช (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). ทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:ห.จ.ก อรุณการ
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress/?p=138  (ออนไลน์)  สืบค้นเมื่อวันที่  22  สิงหาคม  2555

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน



กิดานันท์ มลิทอง  (2540)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

ดุสิต ขาวเหลือง. http://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%   กล่าวไว้ว่า สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
     1.รูปแบบหลัก
     2. รูปแบบผู้เรียน
     3. รูปแบบการปรับตัว

                อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.2545   ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนรู้ที่คุณครูออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา หรือสื่อการเรียนรู้ทั่วๆ ไป เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน สามารถจำแนกได้ ดังนี้
   1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   
   3.สื่ออื่นๆ เช่น
     -บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
     -กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     -แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
     -วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
   4.สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย คือ
      4.1 เป็นสื่อประสมที่นำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาใช้ประกอบการบรรยายและมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือ การใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน มีลักษณะเป็น "สื่อหลายแบบ" ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน การใช้สื่อประสมลักษณะนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
      4.2 เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ หรือ การผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษร และเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการตอบโต้กับสื่อโดยตรง เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในสื่อประสมนี้ได้ 2 ลักษณะ คือ
     -ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ โดยการควบคุมอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ในการทำงาน ได้แก่ การเสนอในรูปแบบของแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้ลักษณะนี้คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดิทัศน์  และเครื่องเล่นซีดี-รอมให้เสนอภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวตามเนื้อหาบทเรียน
     -ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อประสม โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ต่างๆ เช่น Toolbook Authorwareซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปจะช่วยในการผลิตแฟ้ม บทเรียน หรือการเสนองานในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยแต่ละแฟ้มจะมีเนื้อหาในลักษณะตัวอักษรภาพกราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว เสียง รวมอยู่ในแฟ้มเดียวกัน ผู้ใช้เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียนหรือเสนองานตามโปรแกรมที่ได้จัดทำไว้ก็จะได้เรียนรู้เนื้อหาอย่างครบถ้วน
   
สรุป
    รูปแบบของสื่อหลายมิติมีดังนี้
   1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   
   3.สื่ออื่นๆ เช่น
     -บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
     -กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     -แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
     -วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
   4.สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย


เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ดุสิต ขาวเหลือง. การบูรณาการใช้สื่อประสมและสื่อหลายมิติเพื่อการสอนและการเรียนรู้. จากhttp://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/Link_Jounal%20edu_18_1_3.pdf
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.2545.สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน.เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์.กรุงเทพฯจากhttp://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486

รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน



กิดานันท์ มลิทอง  (2540)  กล่าวว่า สื่อหลายมิติ เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติ ในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิกในลักษณะภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะ ต่าง ๆ ได้หลายรูปแบบกว่าเดิม

ดุสิต ขาวเหลือง. http://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%   กล่าวไว้ว่า สื่อหมายมิติเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่มีความสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็วและเพิ่มความสามารในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหว วีดีทัศน์ ภาพกราฟฟิก ภาพนิ่ง ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด เสียงดนตรี เข้าไว้ในเนื้อหาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้หรือผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้นกว่าเดิมจากความสามารถของสื่อหลายมิติที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงถึงกันได้หลากหลายรูปแบบได้อย่างรวดเร็วนี้เอง ปัจจุบันสื่อหลายมิติได้มีการพัฒนาโดยผสมผสานเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยไปอย่างรวดเร็วโดยทั่วไปนั้นส่วนใหญ่เป็นการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดและเชื่อมโยงไปสู่แหล่งข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ จนกระทั่งเกิดการค้นหาวิธีและพัฒนาไปสู่แนวทางใหม่ของสื่อหลายมิติ ที่เรียกว่า สื่อหลายมิติแบบปรับตัว หมายถึง ความสัมพันธ์กันระหว่างสื่อหลายมิติกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียน ทั้งนี้สื่อหลายมิติที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องและเป็นระบบจะช่วยตอบสนองให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เป็นการดึงดูดความสนใจของผู้เรียนและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบรายบุคคลและส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามศักยภาพได้โดยแบ่งออกเป็น 3 องค์ประกอบหลัก คือ
     1.รูปแบบหลัก
     2. รูปแบบผู้เรียน
     3. รูปแบบการปรับตัว

                อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.2545   ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า สื่อการเรียนรู้ที่คุณครูออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษา หรือสื่อการเรียนรู้ทั่วๆ ไป เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักเรียน สามารถจำแนกได้ ดังนี้
   1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   
   3.สื่ออื่นๆ เช่น
     -บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
     -กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     -แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
     -วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
   4.สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย คือ
      4.1 เป็นสื่อประสมที่นำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาใช้ประกอบการบรรยายและมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือ การใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน มีลักษณะเป็น "สื่อหลายแบบ" ตามศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน การใช้สื่อประสมลักษณะนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน
      4.2 เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ หรือ การผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษร และเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการตอบโต้กับสื่อโดยตรง เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในสื่อประสมนี้ได้ 2 ลักษณะ คือ
     -ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสารสนเทศ โดยการควบคุมอุปกรณ์ร่วมต่างๆ ในการทำงาน ได้แก่ การเสนอในรูปแบบของแผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้ลักษณะนี้คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวกลางในการควบคุมการทำงานของเครื่องเล่นวีดิทัศน์  และเครื่องเล่นซีดี-รอมให้เสนอภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวตามเนื้อหาบทเรียน
     -ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการผลิตแฟ้มสื่อประสม โดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ต่างๆ เช่น Toolbook Authorwareซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปจะช่วยในการผลิตแฟ้ม บทเรียน หรือการเสนองานในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยแต่ละแฟ้มจะมีเนื้อหาในลักษณะตัวอักษรภาพกราฟิก  ภาพเคลื่อนไหว เสียง รวมอยู่ในแฟ้มเดียวกัน ผู้ใช้เพียงแต่เปิดแฟ้มเพื่อเรียนหรือเสนองานตามโปรแกรมที่ได้จัดทำไว้ก็จะได้เรียนรู้เนื้อหาอย่างครบถ้วน
   
สรุป
    รูปแบบของสื่อหลายมิติมีดังนี้
   1.สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูน เอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
   2.สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
นอกจากนี้ยังรวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน  การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   
   3.สื่ออื่นๆ เช่น
     -บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม ฯลฯ
     -กิจกรรมเทคนิควิธีการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เช่น เกม เพลง สถานการณ์จำลอง การทัศนศึกษา การทำโครงงาน บทบาทสมมติ ฯลฯ
     -แหล่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อม สถานที่สำคัญที่ควรศึกษา เช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงงาน สถานประกอบการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ สำนักงาน ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ฯลฯ
     -วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ
   4.สื่อประสม (Multimedia) นักเทคโนโลยีทางการศึกษา แบ่งสื่อประสมออกเป็น 2 ความหมาย


เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ดุสิต ขาวเหลือง. การบูรณาการใช้สื่อประสมและสื่อหลายมิติเพื่อการสอนและการเรียนรู้. จากhttp://www.edu.buu.ac.th/journal/Journal%20Edu/Link_Jounal%20edu_18_1_3.pdf
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.2545.สุดยอดการพัฒนาการเรียนการสอน.เอ็กซเปอร์เน็ทบุ๊คส์.กรุงเทพฯจากhttp://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486

สื่อประสม



 มสิทธิ จิตรสถาพร (2547:23) ที่กล่าวเสริมว่า สื่อประสม (multimedia) หมายถึง การใช้สื่อหลายอย่างประกอบกันอย่างเป็นระบบ     การนำสื่อหลายๆประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และ วิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิต หรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูลทั้ง ตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว แบบวีดีทัศน์และเสียง


ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2533:25) กล่าวว่า การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น  หรือมีอีกความหมายหนึ่งว่า สื่อประสม หมายถึง การนำวัสดุอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ หุ่นจำลอง หนังสือ เป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาสาระสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน แล้วเลือกมาประกอบกันเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง

กิดานันท์ มลิทอง (2544: 6-7) ได้อธิบายว่า สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน

สรุป
สื่อประสม หมายถึง การใช้สื่อประสมจะช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์จากประสาทสัมผัสที่ผสมผสานกัน ได้พบวิธีการที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการได้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น  โดยการนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอนโดยการใช้สื่อแต่ละอย่าง ตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วย เพื่อการผลิต หรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ในการนำเสนอข้อมูล

อ้างอิง
  สมสิทธิ  จิตรสถาพร. (2547). สื่อการสอน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพาคณะศึกษาศาสตร์ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา.
 ชัยยงค์  พรหมวงศ์. (2533). แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (หน่วยที่ 8). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กิดานันท์  มลิทอง. (2544). สื่อการสอนและฝึกอบรม: จากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อรุณการพิมพ์.

สื่อการสอน


กิดานันท์ มลิทอง (2549100) ได้ให้ความหมายคำว่า สื่อ (medium, pl.media) เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า “ระหว่าง” (between) สิ่งใดข้อตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์

                วาสนา ชาวหา  (2533). กล่าวว่า “สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดหมายที่ครูว่างไว้ได้เป็นอย่างดี

                (http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194) ได้ให้ความหมายของสื่อการเรียนการสอนไว้ว่า   สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมี หน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่างๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น

สรุป                
                     สื่อการสอน หมายถึง   สิ่งใดข้อตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ หรือ อุปกรณ์หรือสิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลาง หรือพาหนะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม


เอกสารอ้างอิง 
กิดานันท์ มลิทอง.(2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:ห.จ.ก อรุณการ
วาสนา ชาวหา (2533). สื่อการสอน. กรุงเทพฯสำนักพิมพ์โซเดียมสโตร์
http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/10  สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2555

บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา


(http://gotoknow.org/blog/valairat/242734 )  กล่าวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาประกอบด้วย
1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) มีระบบมัลติมีเดีย (Multimedia)* ระบบวิดีโออนนดีมานด์ (Video on Demand) วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ (Video Teleconference) และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคลเกือบทุกวงการ ทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เขียน ผู้เรียนกับผู้เรียน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร และการดำเนินงานในหลายด้านโดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ประโยชน์อย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศควบคู่ไปกับการเรียนรู้ในห้องเรียนแบบเดิม  ก็คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ของผู้เรียน  โดยการสนับสนุนให้ผู้เรียน ได้รับการเรียนรู้แบบมีการโต้ตอบ และเป็นแบบเห็นจริง  อันจะเอื้ออำนวยให้เข้าใจแนวความคิดที่ซับซ้อน และได้รับข้อมูลความรู้อย่างถูกต้องมากกว่าการนั่งฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว  เนื่องจากว่าการศึกษาในหลาย สาขาวิชานั้นต้องการการอบรมที่ให้เห็นเสมือนเป็นการทำงานจริง  คือมีการโต้ตอบ และแสดงผลโดยภาพกราฟิกที่มีคุณภาพดี หรือภาพเคลื่อนไหว รวมถึงการมีแบบทดสอบ เพื่อวัดความรู้ของตนเอง
 (http://thaigoodview.com/node/25772)  กล่าวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
                1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
              2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการการติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
                3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
(http://mediathailand.blogspot.com/2012/06/blog-post_4877.html)  กล่าว่าการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ก็มีบทบาทที่สำคัญในส่วนของการเป็นทั้งเครื่องมือหลัก และเครื่องมือสนับสนุนที่ต้องจัดหา และนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามลักษณะการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต

สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก เป็นทั้งเครื่องมือหลัก และเครื่องมือสนับสนุนที่ต้องจัดหา และนำมาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เป็นไปตามลักษณะการศึกษา ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การกำหนดทิศทางและนโยบายการจัดการศึกษาไทย จึงต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการกำหนดคุณสมบัติและคุณภาพของแรงงานในอนาคต     โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งมีสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาเป็นอย่างมาก
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
              2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา   โดยเฉพาะการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการการติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล  เช่น  การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น

เอกสารอ้างอิง 
http://gotoknow.org/blog/valairat/242734 สืบค้นวันที่  21 สิงหาคม 2555
http://thaigoodview.com/node/25772     สืบค้นวันที่  21 สิงหาคม   2555 
http://mediathailand.blogspot.com/2012/06/blog-post_4877.html   สืบค้นวันที่   21 สิงหาคม   2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ

http://www.thaigoodview.com/node/55440  กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หมายถึงการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่าง ๆ 
ปทีป เมธาคุณวุฒิ  http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5894.0;wap2  กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศว่า มีความหมายครอบคลุมทั้งระบบสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม รวมทั้งประเด็นจริยธรรมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และผลที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือและเทคนิควิธีการสำหรับ การเก็บรวบรวม ประมวลผล เรียกใช้ส่งและรับข้อมูล เครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์โทรคมนาคม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีโดยทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม  
 http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html  กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
สรุป
      เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูล เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น

อ้างอิง
http://www.thaigoodview.com/node/55440  เข้าถึงเมื่อ 01/08/2555
ปทีป เมธาคุณวุฒิ http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5894.0;wap2  เข้าถึงเมื่อ 01/08/2555
http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html  เข้าถึงเมื่อ 01/08/2555

เทคโนโลยี (Technology)


http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าเทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสมบัติส่วนรวมของ ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
 http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm  ได้รวบรวมและกล่าวถึงเทคโนโลยีไว้ว่าเทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
            ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
สรุป
            เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์ เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ และเป็นความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
เอกสารอ้างอิง
 http://www.oknation.net/blog/kang1989/2008/06/30/entry-3    เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม  2555
http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm    เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม  2555
ผดุงยศ ดวงมาลา.http://jankhuk.exteen.com/20090619/entry  เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม  2555